วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information Technology: IT)

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ ด้านการศึกษา ด้านพานิชยกรรม ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านสาธารณสุข ด้านการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยในการทำงานนั้นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ ดังนี้1. การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากกว่าโทรศัพย์และคอมพิวเตอร์
3. มีผลให้การใช้งานด้านต่างๆ มีราคาถูกลง
4. เครือข่ายสื่อสารได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก
5. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

ข้อมูล (data) => กลุ่มตัวอักษรอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาศต่างๆ ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

สารสนเทศ =ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียงหรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการจนได้เป็นความรู้เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ

ข้อมูลและสารสนเทศนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่างๆ มากมายอาทิเช่น
ด้านการวางแผน
ด้านการตัดสินใจ
ด้านการดำเนินงาน
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังต่อไปนี้ 1.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่างๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอกเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่าHardware และอุปกรณ์ Hardware นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเรียกว่า Software

Hardware
ส่วนประกอบที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้
เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลักๆ ประกอบด้วย
-Case
-Monitor
-Disk drive
-Keyboard
-Mouse
-Speaker
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ ส่วน คือ
1.หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
3.หน่วยความจำ (Memory Unit)
4.หน่วยแสดงผล (Output Unit)

5.อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ (Peripheral Equipment)
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) => Hardware ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ได้แก่
๐ Keyboard
๐ Mouse => แบบใช้แสง แบบไร้สาย
๐ OCR (Optical Character Reader)
๐ OMR (Optical Mark Reader)
๐ เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
๐ สแกนเนอร์ (Scanner)
*แบบเลื่อนกระดาษ
*แบบแท่นนอน
*แบบมือถือ
๐ ปากกาแสง (Light pen)
๐ จอยสติก (Joy Sticks)
๐ จอสัมผัส (Touch Screen)
๐ เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
๐ แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
๐ กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
๐ อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)

หน่วยความจำ (Memory Unit) => เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด
๐ หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
*รอม (Read Only Memory : ROM)
*แรม (Random Access Memory : RAM)
๐ หน่วยความจำสำรอง (Second Memory)
*ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
*ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
*ซีดี (Compact Disk : CD)
รีมูฟเวเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) => เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน
ซิปไดร์ฟ (Zip Drive) => เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 MB
^ Magnetic Optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5” ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อปดิสก์
เทปแบล็คอัพ (Tape Backup) => ขนาดความจุประมาณ 10-100 GB
การ์ดเมมโมรี (Memory Card) => มีขนาดเล็กพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
๐ หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) => ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
๐ หน่วยควบคุม (Control Unit) => ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวล ผลรวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลและหน่วยความจำสำรองด้วย
หน่วยแสดงผล (Output Unit) => ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เมื่อ CPU ทำการประมวลผล
๐ จอภาพ (Monitor) => CRT , LCD
๐ เครื่องพิมพ์ (Printer)
๐ ลำโพง (Speaker)
อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
๐ โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ติดต่อกับโลกภายนอก
๐ แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (LAN card) ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังนี้
ความจำเป็นในการใช้งาน
วัตถุประสงค์ในการใช้งาน
-งบประมาณ
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ควรพิจารณา
-หน่วยประมวลผลกลาง-แผงวงจรหลัก
แรม
ฮาร์ดดิสก์
การ์ดแสดงผล
จอภาพ
ซีดีรอมไดร์ฟ
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง
การ์ดเสียง

อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายเครื่องพิมพ์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา
โน๊ตบุ๊ค เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปทำงานนอกอาคารสถานที่
เดสก์โน๊ต เหมาะกับผู้ใช้งานที่มีการเคลื่อนย้ายสถานที่ภายในอาคารเดียวกันหรือสถานที่ที่มีปลั๊กไฟพร้อมใช้งานตลอดเวลา
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ควรพิจารณา
จอภาพ
แบตเตอรี่
หน่วยความจำ
ฮาร์ดดิสก์
ระบบมัลติมีเดีย
โมเด็ม
เน็ตเวิร์

Software
ซอฟต์แวร์ =โปรแกรมคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
 
ประเภทของซอฟต์แวร์ มี ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ =โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
หน้าที่หลักๆ ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ มีดังนี้
๐ การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
๐ การจัดตารางงาน (Scheduling)
๐ การติดตามผลของระบบ (Monitoring)
๐ การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multiprogramming)
๐ การจัดแบ่งเวลา (Time Sharing)
๐ การประมวลผลหลายชุดคำสั่งพร้อมกัน (Multiprocessing)
โปรแกรมภาษา (Language Software) แบ่งออกเป็น แบบ คือ
๐ ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีโครงสร้างและพื้นฐานเป็นเลขฐานสอง และตัวสติง(Strings) ซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ในทันที
๐ ภาษาใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Language) จะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากคือ ประกอบด้วย 2 ส่วน Op-Code และ Operands
๐ ภาษาระดับสูง (High-Level Language) ประกอบด้วยความเจริญทางด้านซอฟต์แวร์มีมากขึ้น
โปรแกรมยูทิลิตี้ (Utility Software) เป็นโปรแกรมที่ให้บริการต่างๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูลตามหลักใดหลักหนึ่ง (Sort) เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ =โปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างมี ประเภท คือ

ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป =โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้งานในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น งานการพิมพ์ งานวาดภาพ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน =เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถทำงานอื่นได้ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี เป็นต้น
 
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสาร รับ/ส่ง ข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่ รับ/ส่ง อาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) , ตัวอักษร (Text) , ภาพ (Image) และเสียง (Voice)




นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลทั้ง Hardware และ Software
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร
6. เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคม
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก
ทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น
เป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัสและสามารถตอบสนองความต้องการการใช้ เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ก่อให้เกิดการวางแผน การดำเนินการระยะยาวขึ้น
สรุป เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก ด้านความเป็นอยู่สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาด้านต่างๆ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
จากงานวิจัยของ Whittaker พบว่าปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กร มีสาเหตุหลัก ประการ ได้แก่
1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่พบ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule Overruns) และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปี
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1.ความกลัวการเปลี่ยนแปลง
2.การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึงทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

การใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับต่างๆ
1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Management)
ระดับสูง (การวางแผน/นโยบาย)
หน้าที่ การวางแผนระยะยาว กลยุทธ์ การตัดสินใจเชิงนโยบาย
ลักษณะงาน สารสนเทศโดยสรุปของสภาพในอดีตและปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต ใช้ข้อมูลภายในและภายนอก แบบไม่มีโครงสร้าง
2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management) ระดับกลาง (ผู้อํานวยการ หัวหน้าฝ่าย)
หน้าที่ การวางแผนระยะกลาง ระยะสั้น การตัดสินใจในการบริหารงานตามแผน
ลักษณะงาน สารสนเทศค่อนข่างละเอียดในอดีตและปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต ส่วนใหญ่เป็นสารสนเทศภายใน แบบกึ่งโครงสร้าง

3. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational MGT)
หน้าที่ ดําเนินงานประจํ าตามที่รับมอบหมาย ลักษณะงาน สารสนเทศเฉพาะด้านที่ทํางานอยู่ มีรายละเอียดมาก สารสนเทศภายใน แบบมีโครงสร้างแน่นอน 

ส่วนประกอบทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันและงานด้านต่างๆ เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคม 

คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่างๆได้เกือบทุกชนิด คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณและประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติ ประการ คือ

การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์กระจายไปอยู่ในทุกวงการ
        - ด้านธุรกิจ ได้แก่การนำคอมพิวเตอร์มาประมวลงานด้านธุรกิจ
        - ด้านการธนาคาร ปัจจุบันทุกธนาคารจะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานในองค์กรของตนเพื่อให้บริการลูกค้า
        - ด้านตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ จะมีข้อมูลจำนวนมากและต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
        - ธุรกิจโรงแรม ระบบคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการบริหารโรงแรม การจองห้องพัก การติดตั้งระบบ Online ตามแผนกต่างๆ
        - การแพทย์ มีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ทะเบียนประวัติคนไข้,ระบบข้อมูลการให้ภูมิคุ้มกันโรค,สถิติด้านการแพทย์,ด้านการบัญชี
        - วงการศึกษา การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับสถาบันการศึกษาจะมี ระบบงานที่เกี่ยวกับ การเรียนการสอน การวิจัย การบริหาร
        - ด้านอุตสาหกรรมทั่วไป
        - ด้านธุรกิจสายการบิน สายการบินต่างๆทั่วโลกได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะงานการสำรองที่นั่งและเที่ยวบิน
        - ด้านการบันเทิง เช่น วงการภาพยนตร์ การดนตรี เต้นรำ
ชนิดของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้ คือ
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Super Computer
เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง
ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็นดังนี้ คือ
หมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง มีความเร็วในการทำงาน และประสิทธิ
ภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์เคมี งานทำแบบจำลองโมเลกุลของสารเคมี งานด้านวิศวกรรมการออกแบบ งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคารที่ซับซ้อน ซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น


 
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มากๆ สามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อมๆ กัน โดยที่งานเหล่านั้นอาจจะเป็นงานที่แตกต่างกัน อาจจะเป็นงานใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปให้หน่วยประมวลผลแต่ละตัวทำงานก็ได้ และยังใช้โครงสร้างการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลายๆ ตัวหรือหลายๆ งานในเวลาเดียวกันได้พร้อมๆ กันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความสามารถในการทำงานแบบมัลติโปรเซสซิง (Multiprocessing) หรือความสามารถในการทำงานหลายงานพร้อมๆกันได้ ดังนั้น จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer)
ความเร็วในการคำนวณของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็น นาโนวินาที (nanosecond) หรือเศษหนึ่งส่วนพันล้านวินาที และ กิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาที ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ใช้ในงานวิจัย อยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ Mainframe Computer
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถะสูง แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ มีความเร็วสูงมาก มีหน่วยความจำขนาดมหึมา เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคน ที่ใช้โปรแกรมที่แตกต่างกันนับร้อยพร้อมๆ กันได้ เหมาะกับการใช้งานทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมากๆ
เครื่องเมนเฟรมได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยพร้อมๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่จะมีจำนวนหน่วยประมวลที่น้อยกว่า และเครื่องเมนเฟรมจะวัดความเร็วอยู่ในหน่วยของ เมกะฟลอป (Megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
 
ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมจึงอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมากเช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐาน เครื่องเมนเฟรมจะเก็บโปรแกรมของผู้ใช้เหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลัก และมีการสับเปลี่ยนหรือสวิทช์การทำงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเลยว่าเครื่องเมนเฟรมที่ใช้ มีการสับเปลี่ยนการทำงานไปทำงานของผู้ใช้คนอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา หลักการที่เครื่องเมนเฟรมสามารถทำงานหลายโปรแกรมพร้อมๆ กันนั้นเรียกว่า มัลติโปรแกรม-มิง (Multiprogramming)
3.มินิคอมพิวเตอร์
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง มีสมรรถนะต่ำกว่าเครื่องเมนเฟรม แต่สูงกว่าเวิร์คสเตชัน จุดเด่นที่สำคัญ คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม และการใช้งานใช้บุคลากรไม่มากนักมินิคอมพิวเตอร์เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1960 ต่อมาบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ ประกาศตัวมินิ คอมพิวเตอร์ DEC PDP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ.1965
 
ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมากเครื่องมินิ คอมพิวเตอร์ใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้นับร้อยคนพร้อมๆกัน แต่เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่า การควบคุมผู้ใช้งานต่างๆ ทำน้อยกว่า สื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม
การทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่นๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูลหน่วยประมวลผล หน่วย แสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น
4.เวิร์คสเตชั่น และไมโครคอมพิวเตอร์
 
คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็นสองรุ่น คือ เวิร์คสเตชัน หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ สามารถทำงานพร้อมกันได้หลายงาน และประมวลผลเร็วมาก มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น นำมาช่วยในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วน เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย เวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (Reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง

ไมโครคอมพิวเตอร์ หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้งานคนเดียว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
 ทั้งระบบใช้งานครั้งละคนเดียว หรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แบ่งได้หลายลักษณะตามขนาด 
เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา 
(Portable Computer)

การทำงานของคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทำงานได้เร็ว สะดวก
 และแม่นยำมากขึ้น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานอย่างได้มีประสิทธิภาพ จึงต้องเรียนรู้ 
และเข้าใจ ส่วนประกอบ วิธีการทำงานของ คอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนสำคัญคือ
      ขั้นตอนที่ 1 การรับข้อมูลและคำสั่ง คอมพิวเตอร์รับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล

 คือ เมาส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน ฯลฯ
      ขั้นตอนที่ 2 การประมวลผลหรือคิดคำนวณ ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์รับเข้ามา จะถูกประมวลผล

โดยการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU: Central Processing Unit) ตามคำสั่งของโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูล เช่น นำข้อมูลมาบวก ลบ คูณ หาร ทำการเรียงลำดับข้อมูล นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม นำข้อมูลมาหาผลรวม เป็นต้น
       ขั้นตอนที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่ป้อน หรือแสดงผลจากการประมวลผล ทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) หรือลำโพง
       ขั้นตอนที่ 4 การเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึกข้อมูล (Floppy disk) ซีดีรอม เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต




ขอมูลจาก : https://sites.google.com/site/kordeeyahmaleeyan/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-khxmphiwtexr-laea-rabb-sarsnthes-1


ไม่มีความคิดเห็น:

Featured Post

อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง

อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง หลายคนอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง อยากมีความสุขมากขึ้น อยากมีชีวิตที่เติมเต็มมากขึ้น แต่การจะได้มันมา บางคนมุ่งไปเส...