วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

รอมฎอน: เกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย เมื่อถือศีลอด?





ภาพสแกน 3 มิติ ร่างกายมนุษย์Image copyright
คำบรรยายภาพชาวมุสลิมถือศีลอดระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกในช่วงเดือนรอมฎอน การอดอาหารส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

แต่ละปี ชาวมุสลิมหลายล้านคน รวมทั้งชาวมุสลิมในไทย ร่วมถือศีลอดตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกเป็นเวลา 30 วันในช่วงรอมฎอน
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เดือนรอมฎอน ตรงกับช่วงหน้าร้อนในซีกโลกเหนือ ทำให้กลางวันยาวนานขึ้น และสภาพอากาศร้อนขึ้น นั่นหมายความว่า คนที่อยู่ในบางประเทศ อย่างเช่นนอร์เวย์ จะต้องถือศีลอดนานถึง 20 ชั่วโมงต่อวันในปีนี้
ในสหราชอาณาจักร วันแรก ของเดือนรอมฎอนปีนี้เริ่มพุธที่ 16 พ.ค.ในไทย สำนักจุฬาราชมนตรี ประกาศให้พฤหัสบดีที่ 17 พ.ค.เป็นวันแรก
การอดอาหารเช่นนี้เป็นผลดีต่อสุขภาพหรือไม่ นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ หากคุณถือศีลอดเป็นเวลา 30 วัน




โดนัทImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพในช่วงอดอาหาร ร่างกายของคุณจะใช้น้ำตาลในเลือดที่เก็บสะสมไว้ที่ตับเพื่อให้พลังงาน

2-3 วันแรก คือ ช่วงที่ยากลำบากที่สุด
ตามหลักการแล้ว ร่างกายไม่ได้เข้าสู่ 'ภาวะอดอาหาร' จนกว่าจะครบ 8 ชั่วโมงหลังกินอาหารมื้อสุดท้าย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ดูดสารอาหารต่าง ๆ จากอาหารเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ไม่นานหลังจากนั้น ร่างกายของเราก็จะเปลี่ยนกลูโคสที่เก็บสะสมไว้ในตับและกล้ามเนื้อมาให้พลังงาน เมื่อกลูโคสหมด ไขมันก็จะกลายเป็น แหล่งพลังงานสำหรับร่างกายแทน




ผู้ชายนั่งบนโต๊ะ ถือมีด และส้อมImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพในช่วง 2-3 วันแรกของเดือนรอมฎอน จะเป็นช่วงเวลาที่ยากที่สุด เพราะร่างกายกำลังปรับตัวให้ทนหิวได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมง

เมื่อร่างกายเริ่มเผาผลาญไขมัน ก็จะช่วยทำให้น้ำหนักลดลง ลดระดับคอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน
อย่างไรก็ตาม การลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด จะทำให้เกิดความอ่อนเพลียและเซื่องซึม คุณอาจจะมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ และหายใจลำบาก เมื่อมีอาการหิวเพิ่มมากขึ้นจนถึงระดับรุนแรง
วันที่ 3-7ระวังเรื่องการขาดน้ำ
ขณะที่ร่างกายเริ่มชินกับการอดอาหาร ไขมันจะถูกนำมาแปลงเป็นน้ำตาลในเลือด การที่คุณไม่ได้รับของเหลวเข้าสู่ร่างกายในช่วงถือศีลอด ก็ต้องชดเชยในช่วงหลังจากเลิกถือศีลอดในแต่ละวัน ไม่เช่นนั้น ก็อาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้




ผู้ชายกำลังดื่มน้ำImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพน้ำดื่มมีความสำคัญในช่วงถือศีลอด โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน

อาหารที่คุณรับประทานควรจะมี 'อาหารที่ให้พลังงาน' ในระดับเหมาะสม อย่างเช่น คาร์โบไฮเดรต และไขมันบางอย่าง เป็นเรื่องสำคัญมากในการควบคุมการกินอาหารให้ได้สารอาหารอย่างสมดุล รวมถึง โปรตีน เกลือ และน้ำ
วันที่ 8-15เริ่มชิน
ก่อนที่จะเข้าขั้นที่ 3 นี้ คุณน่าจะเห็นพัฒนาการทางอารมณ์ ในช่วงที่ร่างกายปรับตัวกับการอดอาหารได้อย่างสมบูรณ์แล้ว
ดร. ราซีน มาห์รูฟ ที่ปรึกษาในหน่วยผู้ป่วยหนักและยาชา ที่โรงพยาบาลแอดเดินบรูกส์ ในเมืองเคมบริดจ์ กล่าวว่า มีข้อดีหลายอย่างจากการอดอาหารเช่นกัน




อาหารบนโต๊ะImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพการกินอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไป จะทำให้ร่างกายไม่ซ่อมแซมตัวเองและไม่ต้านทานการติดเชื้อ

"ในชีวิตประจำวัน เรามักกินมากเกินไป และอาจส่งผลให้ร่างกายไม่ได้ทำหน้าที่อื่นเท่าที่ควร เช่น การซ่อมแซมตัวเอง"
"การปรับสภาพของร่างกายจะเกิดขึ้นในช่วงถือศีลอด ทำให้ร่ายกายได้หันไปทำหน้าที่อื่น ๆ"
ดังนั้น การถือศีลอดอาจจะเป็นผลดีต่อร่ายกาย ด้วยการทำให้เกิดการซ่อมแซม และยังช่วยป้องกันและต้านทานการติดเชื้อด้วย
วันที่ 16-30ถอนพิษ
ในช่วงครึ่งหลังของการถือศีลอด ร่างกายจะปรับตัวเข้ากับกระบวนการอดอาหารได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ในช่วงนี้ ลำไส้ใหญ่, ตับ, ไต และผิวหนัง จะเข้าสู่ช่วงของการถอนพิษ




ภาพของดร. ราซีน มาห์รูฟImage copyrightDR RAZEEN MAHROOF
คำบรรยายภาพดร. ราซีน มาห์รูฟ บอกว่า การอดอาหารเป็นเวลานานและต่อเนื่อง ไม่ใช่วิธีการลดน้ำหนักที่ดี

"ในด้านสุขภาพ ขั้นนี้ การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ น่าจะกลับไปสู่ระดับเต็มศักยภาพอีกครั้ง ความจำและสมาธิอาจจะดีขึ้น และคุณอาจมีเรี่ยวแรงเพิ่มขึ้น" ดร. มาห์รูฟ กล่าว
"ร่างกายคุณไม่น่าจะหันไปใช้พลังงานจากโปรตีน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ภาวะ 'อดอยาก' ที่ต้องดึงกล้ามเนื้อมาสร้างพลังงาน ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการอดอาหารยาวนานต่อเนื่องกันนานหลายวันหรือหลายสัปดาห์"
"เนื่องจากการถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอนดำเนินไปตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก เราจึงมีช่วงเวลามากพอที่จะเติมพลังให้ร่างกายด้วยอาหารและน้ำ ช่วยรักษากล้ามเนื้อไว้ แต่ยังช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย"
สรุปแล้ว การถือศีลอดมีผลดีต่อสุขภาพหรือไม่?
ดร. มาห์รูฟ กล่าวว่า มี แต่มีเงื่อนไข
"การถือศีลอดเป็นผลดีต่อสุขภาพของเรา เพราะมันช่วยให้เราให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรากินและเวลาที่เรากิน อย่างไรก็ตาม ขณะที่การถือศีลอดนาน 1 เดือนอาจจะไม่เป็นไร แต่ก็ไม่แนะนำให้อดอาหารต่อเนื่อง"




ครอบครัวกินอาหารร่วมกันImage copyrightGETTY IMAGES
คำบรรยายภาพการถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอน ทำให้คุณเติมพลังงานใหม่ให้แก่ร่างกายในแต่ละวัน เพื่อที่ร่างกายจะได้ไม่เผาผลาญเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

"การอดอาหารต่อเนื่องไม่เป็นวิธีที่ดีสำหรับการลดน้ำหนักในระยะยาว เพราะสุดท้ายแล้ว ร่างกายของคุณจะหยุดเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงาน และจะหันไปใช้กล้ามเนื้อแทน นี่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพราะนั่นจะทำให้ร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะ 'อดอยาก'"
เขาแนะนำว่า (นอกเหนือเดือนรอมฎอน) การอดอาหารเป็นช่วง ๆ หรือการควบคุมการกินแบบ 5:2 (อดอาหาร 2-3 วันต่อสัปดาห์ ส่วนเวลาที่เหลือก็กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ) น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าการอดอาหารต่อเนื่องครั้งหนึ่งนานหลายเดือน
"การถือศีลอดอย่างถูกวิธีในช่วงเดือนรอมฎอน น่าจะทำให้คุณได้เติมพลังงานในแต่ละวัน ซึ่งหมายความว่าคุณอาจลดน้ำหนักลงโดยที่ร่างกายไม่เสียกล้ามเนื้อที่มีคุณค่า"
ข้อมูลจาก : https://www.bbc.com/thai/international-44140487

ไม่มีความคิดเห็น:

Featured Post

อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง

อยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง หลายคนอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง อยากมีความสุขมากขึ้น อยากมีชีวิตที่เติมเต็มมากขึ้น แต่การจะได้มันมา บางคนมุ่งไปเส...